วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หมากเหลือง


 
ชื่อไทย                 หมากเหลือง
ชื่อสามัญ              Yallow palm
ชื่อวิทยาศาสตร์     Chrysalidocarpus lutescens.
ตระกูล                 PALMAE
วงศ์                    Palmae (Arecaceae)
ถิ่นกำเนิด             มาดากัสก้า
ลักษณะโดยทั่วไป
        หมากเหลืองเป็นปาล์มที่มีหน่อเป็นกอขึ้นรวมกัน กอหนึ่งจะมีประมาณ 6 - 12 ต้น สูงประมาณ 25 - 30 ฟุตลำต้นมีข้อปล้องโค้งออกจากโคนกอ แลดูสวยงามยิ่ง ใบเป็นใบรูปขนนก ทางใบยาว 6 - 8 ฟุต กาบใบจะ ห่อหุ้มลำต้นไว้ หมากเหลืองเป็นปาล์มที่ได้รับความนิยม นำมาตกแต่งประดับประดาตามสถานที่เป็นอย่าง มาก เพราะความสวยงามและมีรูปร่างที่ไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่จนเกินไป
 การปลูก
        นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์          โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ
การดูแลรักษา
แสง                         ชอบแสงแดด ควรปลูกในที่โล่ง กลางแจ้งน้ำ                           ในระยะกำลังเจริญเติบโตควรรดน้ำทุกวันดิน                           ควรเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุพอสมควรปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้งโรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคที่ทำความเสียหาย จะมีปัญหาก็แต่แมลงเท่านั้น ได้แก่ หนอนปลอก หนอนเจาะลำต้นการป้องกันกำจัด       ใช้ไซกอนอัตรา 20 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วบริเวณโคนต้น

หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ

ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน


ขอบคุณแหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/BotanicalGarden/mhakleung.html ,http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_12.shtml



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น